วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

DRY ATX-PSU-เพาเวอร์ซัพพลายคอมฯ สวิทชิ่งดีๆ ที่ถูกทอดทิ้ง

DRY ATX-PSU-เพาเวอร์ซัพพลายคอมฯ สวิทชิ่งดีๆ ที่ถูกทอดทิ้ง

     สาเหตุที่ทำ เพราะรถจอดทิ้งประมาณซักสามวัน ไฟแบตฯหมด ชาร์จไว้กี่ทีๆ
ก็ยังเป็นเหมือนเดิม ก็ไปเสาะหาความรู้ในเนต จากเว็บนอกบ้าง ในไทยบ้าง ที่มีช่าง
เก่งๆ ได้นำทางไว้ให้ ก็พอจะเข้าใจมา สรุปเอาเอง ว่ามันจะต้องออกมาแบบไหน..
ไม่พูดมากแล้ว วันนี้อากาศร้อน..จุดประสงค์ก็ไม่ได้คิดจะทำที่ชาร์จโดยตรง แต่
 ต้องการทำเครื่องถนอมแบตฯ หรือพูดแบบบ้านๆ คือเครื่องช่วยสลายสิ่งที่มาติด
 แผ่นธาตุของแบตฯ ให้มันหลุดไป แต่มันก็กลายเป็นเครื่องชาร์จไปได้ในตัวด้วย..

1.ไปหาเพาเวอร์ซัพพลายคอมฯหรือเจ้า ATX นี่มาได้สองตัว จากร้านซ่อมคอมฯ
   มันเสียแล้วด้วย ก็เลยเอามาซ่อมให้มันใช้ได้เสียก่อน จะข้ามตรงการซ่อมนี่ไป
   วันหลังค่อย เอามาใส่ก็แล้วกันนะครับ
   มาดูสเปคกันก่อน ตามรูปเลยครับ จะเห็นว่า ไฟ 12V ที่จ่ายได้ มีกระแสที่สูง
   มากทีเดียว เหมาะที่จะนำมาใช้ชาร์จแบตฯแทนหม้อแปลงแบบเดิมๆ ที่มีแอมป์
   เท่าๆกัน จะใหญ่และหนัก...












รูปทีทำเสร็จแล้ว ขี่เหล่หน่อยครับ



















รูปหน้าตาภายนอกของเครื่องที่ทำมวลรวม...ครับ แบบวิถีชาวบ้าน
ปุ่มที่เห็นเป็นวอลลุ่มปรับได้ สำหรับปรับกระแสในการชาร์จแบตฯ








2. ที่นี้มาต่อ ว่าจะทำยังไง เมื่อ ATX จ่ายไฟได้แค่ 12 V ซึ่งไม่พอชาร์จแบตฯ
    แบบ 12 V ของรถยนต์ได้ (ระดับไฟในการชาร์จแบตฯ ก็ค้าหาตามเนตฯ
    ก็จะอยู่ที่ราวๆ 13.8-14.75 V ซึ่งจะทำให้ชาร์จแบตได้เต็ม
    ถ้าแบบเรา 70A ให้ชาร์จด้วยกระแสที่หารด้วย 10 ซึ่งก็คือ
    ถ้าแบตฯ 70A ก็ให้ชาร์จด้วยกระแสประมาณ 7 A  แบบนี้คงเป็นการคิดแบบคร่าวๆ เพราะ
    ถ้าจะเอากันจริงๆ ก็คงต้องไปอ่านข้างกล่องแบตฯที่เราซื้อมา ว่าชาร์จกันอย่างไร
    รูปการปรับแต่งซัพพลายคอมฯ

   



















ที่เห็นเป็นจุดๆ นั่นคือ R เกือกม้าค่า 10 K ครับ ให้ทำการลอย R43 ค่า 39k แล้วเอา
Rเกือกม้าไปคั่นกลาง ดังภาพครับ

ส่วนนี่เป็นวงจรเต็มของ ATX ที่ผมทำการดัดแปลงครับ
ไล่ตามวงจรครับ ว่าผมตัดต่อตรงไหน ใช้แค่ VR 10K ตัวเดียวครับ
ใส่เสร็จก็ปรับ VR ให้มีค่าต่ำสุดก่อน แล้วค่อยๆปรับขึ้นไปทีละนิด
วัดไฟทางออกไปด้วย ทางที่ดี ให้ถอดปลั๊กไฟ 220 ของ ATX
ออกก่อนแล้วปรับไปนิดหนึ่ง ค่อยเสียบปลั๊กดู
จะปลอดภัยกว่า ค่อยปรับไปจนได้ระดับไฟที่ต้องการ
ก็เป็นอันเสร็จวิธีการปรับแต่งครับ แหม ไม่ยากอย่างที่คิดนะครับ
***ข้อควรระวัง ตอนปรับแต่ง ให้หาหลอดไฟ 12 โวลต์ วัตถ์สูงๆหน่อยก็ดี
 มาต่อเป็นโหลดให้ ATX ด้วยนะครับ มีหม้อแปลง 12 V
ก็เอาตรงขด 12 V นั่นแหละ เป็นโหลด(จะได้ยินเสียงวี๊ดๆด้วย)
มี 24 V ก็เอาขด 24 นั่นละครับเป็นโหลด แต่อย่าต่อนาน มันอาจจะร้อนไหม้ได้
     
















ใครมี ATX ไม่เหมือนในรูป ไปหาวงจรได้จากที่นี่ครับ เตรียมไว้ให้แล้ว

http://danyk.cz/s_atx_en.html

 คำเตือน

***** ผู้ที่คิดจะทำ ควรมีความรู้เรื่องไฟฟ้าบ้างนะครับ เพราะไฟมันจะดูดเอาได้
ระวังด้วยขณะปรับแต่ง ด้านไฟเข้า ของ ATX มันจะมีไฟ AC220V อยู่ด้วย
ยิ่งตรงฝาปลั๊กเสียบเข้า เปลือยอยู่ ก็ให้หาเทปพันสายไฟมาพันก่อนการปรับแต่ง
กันมือไปโดนตอนเราปรับ VR และตรง C ตัวใหญ่สุด 2 ตัว ใน ATX
ก็จะมีไฟ DC 315 V อยู่นะครับ อย่าไปใกล้มัน...
ส่วน VR ที่ปรับแต่งจะเป็นส่วนไฟต่ำที่แยกขด
ออกมาจากไฟสูงแล้วครับ ค่อนข้างจะปลอดภัยพอสมควร...


สำคัญ
อีกข้อที่ต้องรู้ไว้ ว่า C ตรงทางออกของไฟ ATX ถูกใส่มาให้พอแค่ทนไฟ 12 V
คือใส่มา อาจจะค่า 1000/16V นั่นคือ มันจะทนไฟได้ไม่มากกว่า 16 V
หากมีการปรับไฟให้สูงเกินระดับขีดจำกัดนี้ จะทำให้ C ที่ว่านี้ ระเบิด ซึ่งเป็นอันตราย
อย่างมาก กับกรณีนี้ งานนี้มีความเสี่ยงสูง หากไม่เข้าใจ กรุณาละเว้นครับ..
แนะนำให้เปลี่ยน C output เป็นค่าทนไฟ 35 V ขึ้นไป...


การต่อชาร์จ
ให้นำฟิวส์ค่าซัก 5-10 A มาต่อกันระหว่างเครื่อง ATX กับ แบตฯด้วยครับ
ปกติแบตฯหมด มันจะไม่หมดจนหยดสุดท้ายซะทีเดียว มันยังพอจะมีไฟ
เหลืออยู่บ้าง กระแสที่เราชาร์จมันก็จะไหลไปตามส่วนที่มันขาดไปเท่านั้น
เองครับ(มากในตอนแรก) มันไม่ได้ไหลไปพรวดเดียว 12 A ตลอดเวลา
ตามสเปค ATX ในตอนต้น ถ้ามีแอมป์มิเตอร์ต่อคั้นไว้ ก็จะรู้เองครับ
พอชาร์จๆไป แบตฯ มันใกล้เต็ม เข็มแอมป์ มิเตอร์ฺมันก็จะลดลงไปใกล้
เลข 0 เรื่อยๆ พอใกล้ 0 ก็พออนุโลมได้ว่าแบตฯเราเต็มแล้ว..เท่านี้เองครับ


อ้อ ลืมบอก การปรับไฟ ให้ไล่จากตรงไฟ + 12V หรือ 5V ย้อนกลับเข้าไป
หาตัวไอซี 494 ครับ ปกติ ก็จะมี R กั้นอยู่ แล้วไปเข้าขา 1 ของไอซี
 ATX แต่ละรุ่น อาจต่างกันไป ที่เห็นปรับแต่งกันเยอะๆ และดูง่าย
ก็คงจะเป็นรุ่นที่ใช้ ไอซีเบอร์ 494 หรือ 7500 ครับ ไอซีสองตัวนี้
เหมือนกันสามารถแทนกันได้เลย ว่าแล้วก็ขอจบภาคแรกเลยละกันครับ


จบแค่ภาคแรก ด้วยส่วนของเครื่องชาร์จแบตฯแบบง่ายๆ ธรรมดาๆ ยังมีต่อ
เพราะผมทำเครื่องสำหรับฟื้นฟูแบตฯมาต่อร่วมด้วย แบตฯที่เคยสิ้นชีพ
เมื่อชาร์จแบตฯ เต็มได้แค่ 3 วัน มันกลับมามีชีวิตอีกครั้ง จากการทดสอบ
ก่อนเขียนบทความนี่ 1 อาทิตย์ ได้ทำการทดสอบจนแน่ใจ ว่ามันฟื้นแล้วจริงๆ
จึงนำมาเขียนเล่าสู่กันฟัง..เผื่อใครต้องการจะมีไว้ใช้งานบ้าง ATX เก่า
ของคอมฯเก่า...


รูปแบบการทดลอง เครื่องชาร์จไฟจาก ATX + เครื่องสลายซัลเฟตที่เกาะแผ่นธาตุ
เอามาให้ดูเป็นแนวทางครับ เครื่องนี้ฝรั่งเค้าเรียก Battery Regenerator and Refreshing

(ตัวอย่าง เครื่องที่เห็นมีขายกัน
http://goo.gl/rd9JvZ หรือ http://goo.gl/Ax7jFC )

ลิงค์ ที่มีเครื่องฟื้นฟูแบตฯ อีกแบบ
กดเพื่อดูวงจร

ทดลองเสร็จ ผมก็จับมันยัดเข้ากล่อง ATX นั่นละครับ
นำไปทดสอบแล้ว แบตฯสามารถกลับมาทำงานได้จริงครับ

(เครื่องชาร์จแบบนี้...เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้า ที่ติดไฟจากแบตฯเพื่อค้าขาย
หรือชาร์จแบตฯไว้ส่องกบ ส่องปลา หรือชาร์จแบตฯเป็นประจำด้วยนะครับ
น้ำหนักมันเบา แบบวางในฝ่ามือยกสบายๆเลยครับ แถมมันช่วยรักษาแบตฯ
ให้มีอายุยืนยาวออกไปได้ด้วย ก็ลองเอาไปเป็นแนวทางกันดูนะครับ
จะแบตฯรถยนต์ มอเตอร์ไซต์ แบบน้ำ แบบแห้ง(UPS)เครื่องนี้ช่วยได้ครับ



 











ต้นฉบับ มาจากนิตยสารเซมิ ฉบับที่ 402 เป็นโปรเจคฯของ อ.ลาด มากสลุง
ตัวนี้ละครับ ที่ผมเอาใส่เข้าไปเสริมให้เป็นเครื่องสลายซัลเฟตให้แบตฯ และเป็น
ตัวที่เป็นเป้าหมายของโปรเจคฯในครั้งนี้
ตัวชาร์จจาก ATXเป็นแค่แหล่งต้นกำลังเหมือน
ที่กล่าวในตอนแรกของบทความครับ.. 
(เฟสผมใส่ไม่ตรงเบอร์ของต้นฉบับนะครับ
อย่าสงสัยกัน ถ้าดูแล้วมันไม่เหมือนในรูปต้นฉบับ.. 

























แนว คิด แนวทาง ต่อยอด  ....มันคงไม่เป็นได้แค่เครื่องชาร์จแบตฯ ลองจินตนาการว่า ถ้าทำเพาเวอร์ซัพพลาย ประจำห้องซ่อมห้องทดลอง โดยทำให้ ATX ปรับไฟได้ แล้วซื้อ โวลต์+แอปม์มิเตอร์เล็กๆ ร้อยกว่าบาทมาใส่ จะดีไหม
หรือเอาไปจ่ายไฟให้ เพาเวอร์แอมป์ ประเภท เพาเวอร์แอมป์.. 

ป้ายไฟ...ชาร์จแบตฯรถไฟฟ้า...โคมไฟ LED...หรือ..???
อะไรอีกดีหนอ...อืม...???
ใครนึกออก กระซิบบอกกันบ้างครับ..!!!!!!! 


 

1 ความคิดเห็น:

บล๊อคนี้เป็นอย่างไร

สมาชิก