วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การใช้งานโปรแกรม CadSoft Eagle 6.2 ฉบับมือใหม่ ตอน 1


บทความนี้จะแนะนำ การเขียนวงจรไฟฟ้า (schematic) ออกแบบลายวงจรพิมพ์หรือ PCB ด้วยโปรแกรม Eagle

เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบแบบรวบรัด และสามารถนำไปใช้งานทำงานได้จริง  ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอิเลคทรอนิกส์

มาเริ่มรู้จักโปรแกรมกันก่อน โปรแกรม CadSoft Eagle 6.2 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ที่มีออกมาให้ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้

และสามารถใช้งานได้หลาย OS  สำหรับทั้ง Windows, Linux และ Mac

พื้นที่วาด•สูงสุด 1.6 x 1.6M (64 นิ้ว x 64) วาดได้ 999 ชีท ใน 1 วงจร

ความละเอียด 1/10, 000mm (0.1 ไมครอน)

และมีเลเยอร์ให้ใช้งานได้ถึง 16 ชั้นสัญญาณ

มีโมดูล Autorouter) (เดินลายทองแดงอัตโนมัติ)

และมีไลบราลี่ใหม่ๆออกมาให้เลือกใช้งานอุปกรณ์มากมาย



            สามารถหามาทดลองใช้งานได้จาก http://www.softpedia.com/get/Science-CAD/EAGLE.shtml

ซึ่งจะเป็นตัวทดลองใช้งาน ชื่อโปรแกรม Eagle Light 6.2 หรือสามารถไปดาวน์โหลด รุ่นฟรีแวร์ ได้จากเว็บไซต์หลักของโปรแกรมได้

จากhttp://www.cadsoftusa.com/download-eagle/?language=en  ซึ่งนอกจากจะมีตัวโปรแกรมแล้ว

ยังมีส่วนใช้งานอื่นๆ ให้ดาวน์โหลด เอามาใช้งานกันได้อีก เช่น

Further download directories can be found here:
Addendum – Important fixes that have been applied after the release of EAGLE version 6.0
Libraries – New and improved EAGLE part libraries
ULPs – User Language Programs
Projects - Projects from EAGLE users
Documentation – Various user provided documents
Tools and Converters – Additional tools and converters to use with EAGLE
ซึ่งส่วนต่างเหล่านี้ เป็นการการสนับสนุนของโปรแกรม ที่ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดขึ้นไปที่เว็บเพื่อแจกจ่ายได้
และมีให้เลือกใช้ แบบโหลดกันไม่หมดเลยทีเดียว

ขั้นตอนที่ 1 รู้จักส่วนประกอบของโปรแกรม
1.การติดตั้งโปรแกรม Eagle
        เมื่อได้โปรแกรมมา ก็จัดการลงโปรแกรมให้แล้วเสร็จ(การลงโปรแกรมจะไม่ขอกล่าวในที่นี้)

เมื่อเราลงโปรแกรมเสร็จ ก็จะมีไอคอน ออกมาที่หน้าจอ สามารถเปิดใช้งานโปรแกรมได้จากไอคอนนี้

เมื่อเริ่มเปิดวงจรขึ้นมาก็จะได้หน้าต่างออกมาตังนี้

Eagle คือโปรแกรมออกแบบวงจรไฟฟ้า (Schematic) และออกแบบลายวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board) ภายในตัวโปรแกรมมีเครื่องมือต่างๆ

ห้เรา เลือกใช้มากมาย นอกจากจะพิมพ์ในส่วนประกอบของการออกแบบแล้ว ยัง สามารถสร้างไฟล์เป็นรูปภาพ เพื่อส่งออกไปตกแต่งในโปรแกรมตกแต่งภาพอื่นๆได้ด้วย

2. ส่วนประกอบของโปรแกรม Eagle

2.1 Libraries ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บรายการอุปกรณ์ที่มีอยู่ในโปรแกรมทั้งหมดของโปรแกรม หากเราคลิกที่รูปสามเหลี่ยม

ก็จะมีรายการอุปกรณ์ ออกมาให้เราได้เลือกใช้งาน จัดเป็นหมวดหมู่ สำหรับงานเขียน Schematic

เครื่องหมายวงกลมสีเขียวที่อยู่ทางด้านขวาของไลบราลี่แต่ละรายการ จะแสดงสภาวะ การที่เราได้เลือกใช้งานไลบราลี่ตัวนั่นๆ

ถ้าเป็นสีเทาเล็กๆ แสดงว่าไม่ได้เลือกใช้ไลบลารี่นั้นๆ ถ้าต้องการใช้งานไลบราลี่ทั้งหมด ก็ให้ทำการคลิกเมาส์ขวาที่ ไอคอนหลัก

Libraries แล้วเลือก Use all ไลบราลี่ทั้งหมดจะถูกเลือกใช้งาน

   2.2 Design Rules เป็นส่วนที่เก็บค่าที่เราตั้งไว้ สำหรับใช้ในการออกแบบวงจรพิมพ์ สำหรับการเดินลายทองแดงแบบอัตโนมัติ

   2.3 ส่วนสนับสนุนภาษา Eagle สนับสนุนกับโปรแกรมที่ใช้ในภาษา C สามารถเข้าไปดูในคำสั่งต่างๆนี้ได้

   2.4 สร้าง Scrip ไฟล์ รายการ(เป็นรายละเอียดว่าเราใช้อะไรแบบไหน เช่น ขนาดลายเส้น ชั้นของแผ่นลายวงจร ฯลฯ

   2.5 CAM jobs เก็บไฟล์เพื่อการส่งผลิตครับ (ส่งผลิตจำนวนมาก)

   2.6 Projects เป็นที่เก็บไฟล์งานที่เราสร้างขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 2 การเขียนไฟล์วงจร(Schematic) และเครื่องมือที่ใช้ในการเขียน

      1.1 การสร้าง Projects, Schematic, Board, Library สามารถสร้างได้ง่ายๆ โดยเข้าไปที่เมนู

 File->New>เลือกสิ่งที่ต้องการทำจะสร้าง ในที่นี้เลือกที่ Schematic เพื่อที่จะเขียนวงจรเป็นตัวอย่าง..


การสร้าง File->New>Project >ตั้งชื่อ Project ในที่นี้ชื่อ “บทความ Schematic” เลือกตามภาพประกอบได้เลย



ส่วนประกอบร่วมที่ใช้ในการเขียน Schematic



-ชื่อโปรเจคฯ        แสดงตำแหน่งและชื่อเอกสารที่เราออกแบบ

-แถบเมนู        รวมคำสั่งการเปิด-ปิดและตั้งค่าต่างๆของโปรแกรม

-แถบเครื่องมือ    บรรจุไอคอนของเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการวาดวงจรและลายวงจรพิมพ์

-จุดแกน X-Y     บอกพิกัดของอุปกรณ์ในแผ่นชีทและในการทำลายทองแดง

-พื้นที่ทำงาน        ใช้ในเขียนวงจร



การ ใช้งานโปรแกรม Eagle เพื่อการออกแบบวงจรไฟฟ้าและลายวงจรพิมพ์นั้น ในโปรกรมจะมีเครื่องมือมาให้เราเลือกใช้ต่างๆกัน หลายอย่าง
เครื่องมือแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปแบบของปุ่มไอคอนและมีหน้าที่ต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้





กำหนดเส้นกริดก่อนการเขียน เพื่อการวางอุปกรณ์จะได้ง่ายขึ้น เรียงตามตัวเลขในภาพเลยครับ


ตอนนี้เราก็รู้จักตัวโปรแกรมกันไปคร่าวๆแล้วนะครับ ทีนี้เราจะมาเขียนวงจรกันเลย อย่างแรกก็หาวงจรง่ายๆมาทดสอบเขียนกันก่อน

เลือกเอาโปรแกรมนี้ก็แล้วกันง่ายดีครับ วงจรนี้ได้ผ่านการทดสอบการความผิดพลาดของโปรแกรมแล้วครับ

ไม่มีข้อความแจ้งเตือนแต่อย่างใด เมื่อท่านเขียนและทดสอบ ก็ต้องไม่มี Error เกิดขึ้นเช่นกัน ลองกันดูครับ



มาเริ่มเขียนวงจรกันเลยนะครับ รอกันมานานแล้ว

อย่างแรก ก็เปิดโปรแกรม สร้าง Schematic เปล่าขึ้นมา คลิกเลือกที่ Tool menu ด้านซ้ายมือของโปแกรม

เลือกไปที่ไอคอน ก็จะมีหน้าต่างมาให้เลือกใช้อุปกรณ์ดังรูปครับ



เมื่อเลือกอุปกรณ์ได้แล้ว ก็ที่ปุ่ม OK ก็นำอุปกรณ์ไปวางใน Schematic ตามวงจรตัวอย่าง

เดินสายเชื่อมต่อวงจร ด้วยเส้นการเลือกที่ไอคอน Wire แล้วนำไปคลิกแล้วลากเชี่อมต่อขาอุปกรณ์เข้าด้วยกันจนเหมือนในภาพวงจรตัวอย่าง

ยกเลิกการวางสาย Wire ด้วยการกดปุ่ม ESC ที่คีย์บอร์ดหรือที่ไอคอน  หมุนอุปการณ์ด้วยการคลิกขวาเมาส์ครับ

เมื่อเขียนวงจรจนแล้วเสร็จ อย่างลืมใส่จุดเพื่อเชื่อมต่อจุดวงจรด้วยนะครับ สำคัญที่เดียว

ถ้าไม่ใส่วงจรจะเกิด Error ตอนเช็คครับ เมื่อเขียนวงจรได้จนครบแล้ว ก็กดที่ไอคอนสองตัวนี้ เพื่อเช็คดูข้อผิดพลาดของโปรแกรมครับ ถ้ามี Error เกิดขึ้น ก็ต้องไปแก้ไขวงจร จนไม่มี Error เกิดขึ้นครับ ถึงจะไปทำแผ่น PCB กันต่อไป

โปรดติดตามตอนต่อไปครับ....

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6 กันยายน 2555 เวลา 12:01

    มี libary หลอดหรือเปล่า ถ้ามีอยู่ส่วนไหนครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. โหลดอุปกรณ์เสริมได้จากเว็บหลักของอีเกิลครับ
      http://www.cadsoftusa.com/download-eagle/?language=en

      ลบ

บล๊อคนี้เป็นอย่างไร

สมาชิก