เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบแบบรวบรัด และสามารถนำไปใช้งานทำงานได้จริง ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอิเลคทรอนิกส์
มาเริ่มรู้จักโปรแกรมกันก่อน โปรแกรม CadSoft Eagle 6.2 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ที่มีออกมาให้ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้
และสามารถใช้งานได้หลาย OS สำหรับทั้ง Windows, Linux และ Mac
พื้นที่วาด•สูงสุด 1.6 x 1.6M (64 นิ้ว x 64) วาดได้ 999 ชีท ใน 1 วงจร
ความละเอียด 1/10, 000mm (0.1 ไมครอน)
และมีเลเยอร์ให้ใช้งานได้ถึง 16 ชั้นสัญญาณ
มีโมดูล Autorouter) (เดินลายทองแดงอัตโนมัติ)
และมีไลบราลี่ใหม่ๆออกมาให้เลือกใช้งานอุปกรณ์มากมาย
สามารถหามาทดลองใช้งานได้จาก http://www.softpedia.com/get/Science-CAD/EAGLE.shtml
ซึ่งจะเป็นตัวทดลองใช้งาน ชื่อโปรแกรม Eagle Light 6.2 หรือสามารถไปดาวน์โหลด รุ่นฟรีแวร์ ได้จากเว็บไซต์หลักของโปรแกรมได้
จากhttp://www.cadsoftusa.com/download-eagle/?language=en ซึ่งนอกจากจะมีตัวโปรแกรมแล้ว
ยังมีส่วนใช้งานอื่นๆ ให้ดาวน์โหลด เอามาใช้งานกันได้อีก เช่น
Further download directories can be found here:
Addendum – Important fixes that have been applied after the release of EAGLE version 6.0
Libraries – New and improved EAGLE part libraries
ULPs – User Language Programs
Projects - Projects from EAGLE users
Documentation – Various user provided documents
Tools and Converters – Additional tools and converters to use with EAGLE
ซึ่งส่วนต่างเหล่านี้ เป็นการการสนับสนุนของโปรแกรม ที่ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดขึ้นไปที่เว็บเพื่อแจกจ่ายได้
และมีให้เลือกใช้ แบบโหลดกันไม่หมดเลยทีเดียว
ขั้นตอนที่ 1 รู้จักส่วนประกอบของโปรแกรม
1.การติดตั้งโปรแกรม Eagle
เมื่อได้โปรแกรมมา ก็จัดการลงโปรแกรมให้แล้วเสร็จ(การลงโปรแกรมจะไม่ขอกล่าวในที่นี้)
เมื่อเราลงโปรแกรมเสร็จ ก็จะมีไอคอน ออกมาที่หน้าจอ สามารถเปิดใช้งานโปรแกรมได้จากไอคอนนี้
เมื่อเริ่มเปิดวงจรขึ้นมาก็จะได้หน้าต่างออกมาตังนี้
Eagle คือโปรแกรมออกแบบวงจรไฟฟ้า (Schematic) และออกแบบลายวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board) ภายในตัวโปรแกรมมีเครื่องมือต่างๆ
ห้เรา เลือกใช้มากมาย นอกจากจะพิมพ์ในส่วนประกอบของการออกแบบแล้ว ยัง สามารถสร้างไฟล์เป็นรูปภาพ เพื่อส่งออกไปตกแต่งในโปรแกรมตกแต่งภาพอื่นๆได้ด้วย
2. ส่วนประกอบของโปรแกรม Eagle
2.1 Libraries ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บรายการอุปกรณ์ที่มีอยู่ในโปรแกรมทั้งหมดของโปรแกรม หากเราคลิกที่รูปสามเหลี่ยม
ก็จะมีรายการอุปกรณ์ ออกมาให้เราได้เลือกใช้งาน จัดเป็นหมวดหมู่ สำหรับงานเขียน Schematic
เครื่องหมายวงกลมสีเขียวที่อยู่ทางด้านขวาของไลบราลี่แต่ละรายการ จะแสดงสภาวะ การที่เราได้เลือกใช้งานไลบราลี่ตัวนั่นๆ
ถ้าเป็นสีเทาเล็กๆ แสดงว่าไม่ได้เลือกใช้ไลบลารี่นั้นๆ ถ้าต้องการใช้งานไลบราลี่ทั้งหมด ก็ให้ทำการคลิกเมาส์ขวาที่ ไอคอนหลัก
Libraries แล้วเลือก Use all ไลบราลี่ทั้งหมดจะถูกเลือกใช้งาน
2.2 Design Rules เป็นส่วนที่เก็บค่าที่เราตั้งไว้ สำหรับใช้ในการออกแบบวงจรพิมพ์ สำหรับการเดินลายทองแดงแบบอัตโนมัติ
2.3 ส่วนสนับสนุนภาษา Eagle สนับสนุนกับโปรแกรมที่ใช้ในภาษา C สามารถเข้าไปดูในคำสั่งต่างๆนี้ได้
2.4 สร้าง Scrip ไฟล์ รายการ(เป็นรายละเอียดว่าเราใช้อะไรแบบไหน เช่น ขนาดลายเส้น ชั้นของแผ่นลายวงจร ฯลฯ
2.5 CAM jobs เก็บไฟล์เพื่อการส่งผลิตครับ (ส่งผลิตจำนวนมาก)
2.6 Projects เป็นที่เก็บไฟล์งานที่เราสร้างขึ้นมา
ขั้นตอนที่ 2 การเขียนไฟล์วงจร(Schematic) และเครื่องมือที่ใช้ในการเขียน
1.1 การสร้าง Projects, Schematic, Board, Library สามารถสร้างได้ง่ายๆ โดยเข้าไปที่เมนู
File->New>เลือกสิ่งที่ต้องการทำจะสร้าง ในที่นี้เลือกที่ Schematic เพื่อที่จะเขียนวงจรเป็นตัวอย่าง..
การสร้าง File->New>Project >ตั้งชื่อ Project ในที่นี้ชื่อ “บทความ Schematic” เลือกตามภาพประกอบได้เลย
ส่วนประกอบร่วมที่ใช้ในการเขียน Schematic
-ชื่อโปรเจคฯ แสดงตำแหน่งและชื่อเอกสารที่เราออกแบบ
-แถบเมนู รวมคำสั่งการเปิด-ปิดและตั้งค่าต่างๆของโปรแกรม
-แถบเครื่องมือ บรรจุไอคอนของเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการวาดวงจรและลายวงจรพิมพ์
-จุดแกน X-Y บอกพิกัดของอุปกรณ์ในแผ่นชีทและในการทำลายทองแดง
-พื้นที่ทำงาน ใช้ในเขียนวงจร
การ ใช้งานโปรแกรม Eagle เพื่อการออกแบบวงจรไฟฟ้าและลายวงจรพิมพ์นั้น ในโปรกรมจะมีเครื่องมือมาให้เราเลือกใช้ต่างๆกัน หลายอย่าง
เครื่องมือแต่ละชนิดจะอยู่ในรูปแบบของปุ่มไอคอนและมีหน้าที่ต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
กำหนดเส้นกริดก่อนการเขียน เพื่อการวางอุปกรณ์จะได้ง่ายขึ้น เรียงตามตัวเลขในภาพเลยครับ
ตอนนี้เราก็รู้จักตัวโปรแกรมกันไปคร่าวๆแล้วนะครับ ทีนี้เราจะมาเขียนวงจรกันเลย อย่างแรกก็หาวงจรง่ายๆมาทดสอบเขียนกันก่อน
เลือกเอาโปรแกรมนี้ก็แล้วกันง่ายดีครับ วงจรนี้ได้ผ่านการทดสอบการความผิดพลาดของโปรแกรมแล้วครับ
ไม่มีข้อความแจ้งเตือนแต่อย่างใด เมื่อท่านเขียนและทดสอบ ก็ต้องไม่มี Error เกิดขึ้นเช่นกัน ลองกันดูครับ
มาเริ่มเขียนวงจรกันเลยนะครับ รอกันมานานแล้ว
อย่างแรก ก็เปิดโปรแกรม สร้าง Schematic เปล่าขึ้นมา คลิกเลือกที่ Tool menu ด้านซ้ายมือของโปแกรม
เลือกไปที่ไอคอน ก็จะมีหน้าต่างมาให้เลือกใช้อุปกรณ์ดังรูปครับ
เมื่อเลือกอุปกรณ์ได้แล้ว ก็ที่ปุ่ม OK ก็นำอุปกรณ์ไปวางใน Schematic ตามวงจรตัวอย่าง
เดินสายเชื่อมต่อวงจร ด้วยเส้นการเลือกที่ไอคอน Wire แล้วนำไปคลิกแล้วลากเชี่อมต่อขาอุปกรณ์เข้าด้วยกันจนเหมือนในภาพวงจรตัวอย่าง
ยกเลิกการวางสาย Wire ด้วยการกดปุ่ม ESC ที่คีย์บอร์ดหรือที่ไอคอน หมุนอุปการณ์ด้วยการคลิกขวาเมาส์ครับ
เมื่อเขียนวงจรจนแล้วเสร็จ อย่างลืมใส่จุดเพื่อเชื่อมต่อจุดวงจรด้วยนะครับ สำคัญที่เดียว
ถ้าไม่ใส่วงจรจะเกิด Error ตอนเช็คครับ เมื่อเขียนวงจรได้จนครบแล้ว ก็กดที่ไอคอนสองตัวนี้ เพื่อเช็คดูข้อผิดพลาดของโปรแกรมครับ ถ้ามี Error เกิดขึ้น ก็ต้องไปแก้ไขวงจร จนไม่มี Error เกิดขึ้นครับ ถึงจะไปทำแผ่น PCB กันต่อไป
โปรดติดตามตอนต่อไปครับ....
มี libary หลอดหรือเปล่า ถ้ามีอยู่ส่วนไหนครับ
ตอบลบโหลดอุปกรณ์เสริมได้จากเว็บหลักของอีเกิลครับ
ลบhttp://www.cadsoftusa.com/download-eagle/?language=en