วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Mitsubishi รุ่น CT-14TM2VC กินฮอร์

Mitsubishi รุ่น CT-14TM2VC กินฮอร์
งานนี้ โดนไปเบาะๆครับ 4 ตัวครับ ตัวที่ 5 ถึงจะใช้ได้
ตัวแรกใส่เพราะเห็นว่าไฟ +B ได้ 115 ปกติแล้ว ใส่ปุ๊ปเปิดติด
พอดีมีแขกมาหา ก็เลยปิดไว้ กลับมาจะซ่อมต่อ
อ้าว..ฮอร์ไปซะแล้ว

ตัวที่สอง
เช็คโย๊ค เช็ค C แดมป์ เปลี่ยนฮอร์ไดว์ เปลี่ยนทรานฯฮอร์
เอาที่ทนไฟมากขึ้นใส่ (ของเดิม D1877 = 4 A) เอาทนไฟ 10 แอมป์ใส่
เพราะคิดว่าเบอร์แทนที่เอาใส่ อาจจะทนน้อยไปหน่อย (3A)
เปิดเครื่อง ไฟเขียวหน้าเครื่องติด ได้ 3 วิ แล้วเปลี่ยนเป็นแดง
......ฮอร์เจ๊ง.....(ชักลมออกหู)

ตัวที่สาม
เปลี่ยน STR6307(ใช้ STR6309 แทน) เปลี่ยน FBT
เบอร์ 334P16402 ไฟ +B ก็ยังได้ 115 ปกติ
เปิดเครื่อง ไฟเขียวหน้าเครื่องติด ได้ 3 วิ แล้วเปลี่ยนเป็นแดง
......ฮอร์เจ๊ง.....

ตัวที่สี่
เปลี่ยนไอซีจังเกิ้ล เปลี่ยนอุปกรณ์ชุดกำเนิดความถี่ฮอร์
ที่ขา 40 ของไอซีจังเกิ้ล (TDA8361) เปลี่ยนหม้อแปลงฮอร์ไดว์
รุ่นนี้ไม่มีคริสตอลที่เป็นสีเหลืองหรือสีน้ำเงินนั่นนะครับ
และ C ก็ไม่เน่าทั้งเครื่องแบบแท่น S10 หรือ S20
เปิดเครื่อง ไฟเขียวหน้าเครื่องติด ได้ 3 วิ แล้วเปลี่ยนเป็นแดง
......ฮอร์เจ๊ง.....

ฉากจบ ฮอร์ตัวสุดท้าย (2SD2331=6A)
คราวนี้ต้องใช้เครื่องมือพิเศษช่วยนอกจากมิเตอร์แล้วละครับ
เครื่องวัดความถี่ครับ ดูตามรูปเลยครับ วัดที่ขา B ของฮอร์ไดว้
ได้ 23.746 KHz ความถี่ฮอร์เกินให้เห็น







ที่ใส่ฮอร์ได้ตรงนี้ ต้องมีการใช้หลอด 60 W ต่อคั่นระหว่าง
ไฟ + B กับ FBT นะครับ แต่การทำแบบนี้ ก็จะทำให้ไม่สามารถ
เช็คความถี่ฮอร์ได้เต็ม 100 % ที่ไม่ได้สาเหตุเพราะ FBT
จะทำงานได้ไม่เต็มที จากการถ่วงหลอด  R R555(390โอมห์ 3 W)
จะร้อนมาก ดึงช๊อกเกตโย๊คออก R555 ไม่ร้อน เปลี่ยนเอาโย๊คเครื่อง
อื่นมาใส่ R555 ร้อนมากเหมือนเดิม ไม่ค่อยได้ผลครับวิธีนี้ วัดไฟหลัง
FBT ได้ไม่ตรง...จังเกิลทำงานได้ไม่เต็ม 100 % วัดไฟเลี้ยงที่ขา 10
ของไอซีจังเกิ้ลได้ประมาณ 4-5 โวลต์เอง

***วิธีที่ได้ผลเพื่อให้วัดความถึ่ได้ตรงคือ เอาภาคจ่ายจากภายนอก
ต่อเข้าเป็นไฟแทนเข้าไปที่ขา 4 ของ FBT (ลอยขา 4 FBT ออกจากวงจร)
















โดยใช้ไฟประมาณ 15 V จ่ายเข้าไปแทน แล้วเปิดเครื่องด้วย
ที่พบเจอหลังจากจ่ายไฟเข้าไปแล้ว ไฟหลัง IC551 ตก
ความถี่ที่ขา B ฮอร์ไดว์ก็ยังได้ที่ 23 K กว่าๆ(Hor ยังไม่ทำงาน)
ปิดเครื่อง เอา C 557(100/16) ออกมาวัดดู พบว่าลดค่าเหลือ 50 MF
จัดการเปลี่ยน C 557(100/16) เปิดไฟเข้าเครื่องพร้อมกับจ่ายไฟ
จากข้างนอกเข้าเพิ่มด้วย วัดความถึ่ที่ขา B ฮอร์ไดว้ ได้ตามรูป
ข้างล่างเลยครับ ความถี่ฮอร์มาปกติแล้ว
สาเหตุที่ความถี่ผิดไม่ได้เป็นเพราะไฟไปเลี้ยงขา 10 ของไอซีจังเกิ้ล
ไม่พอนะครับ แต่เป็นเพราะ ไฟตรง FBT จุดนี้ มันไปผ่าน 
ไอซีเรกูเลเตอร์อีกสองตัว คือ IC 551จาก 12 v 
ส่งไปทำเป็น 9 V ที่ IC952 แล้วส่งผ่าน VR 201 (H-PHASE) 
แล้วส่งเข้าไปที่ขา 39 ของไอซี 8361
การที่ไฟที่ขา 4 ของ FBT เมื่อผ่าน IC551(เรกูเลเตอร์ 12 V) แล้วไฟตก
ทำให้แรงไฟที่ไปถึงขา 39 ของไอซี 8361 ตกด้วย ทำให้ตั้งระดับความถี่ฮอร์ไม่ได้
หรือคลาดเคลื่อนนั้นเอง ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับขา 10 ของ IC 8361
แต่เป็นไฟที่ใช้ร่วมเส้นทางเดียวกันเท่านั้นเอง

ซึ่งแรงไฟที่ใช้เลี้ยงที่ขา 10 และขา 39 ให้ IC TDA8361ตัวนี้
ต้องมาจากการทำงานของ FBT เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงทำการวัดในตอนเปิดเครื่องไม่ได้ เพราะฮอร์จะช๊อตไปก่อนเสมอ
ดังนั้นในการตรวจซ่อม
หากเจออาการนี้ ก็ให้ตรวจเช็คโหลดของ FBT ให้ดีก่อนนะครับ
(มีข้อสังเกตอยู่อย่าง..คือ ตอนที่ผมยังไม่ได้ใส่ Hor และวัดความถี่ที่ขา B
ของทรานฯฮอร์ไดว้ มันจะได้ 23 k แต่พอลอยขา 4 FBT แล้ว เอาไฟ 15 V
จากภายนอกต่อเข้าไป เพื่อส่งไปเลี้ยงที่ขา 10 ของ IC TDA8361
ความถี่ที่ขา B มันค่อยๆลดมาอยู่ที่ 15 k จะเห็นว่าแรงไฟตรงนี้มีผลกับความถี่ฮอร์ที่เกิดขึ้น)









ขอยกคำแนะจากท่าน สำราญ บางนา แห่งเว็บร้านซ่อม
ท่านให้ข้อคิดไว้ครับทำให้ผมต้องมาแก้ไขบทความนี้ใหม่ เพื่อให้ถูกต้องครับ
ขา10 TDA8360 8361 8362 เป็นขาที่รับแรงไฟมาจากฟลายแบคทำงานแล้ว
ซึ่งความถี่ฮอร์ที่จะออกจากขา37 ไอซีต้องได้รับแรงไฟ H VCC ที่ขา36 เท่านั้นครับ
เพราะฉะนั้นความเกี่ยวข้องกับขา10ที่ท่านว่าแรงไฟต่ำ เจอC557 (100/16) ลดค่า 

ทำไห้ความถี่ฮอร์ผิดพลาดแล้วกินฮอร์ จึงไม่เกี่ยวข้องกัน 
แต่ผมคิดว่าจะเกี่ยวข้องกันตรงที่ วงจรที่นำแรงไฟหลังฟลายแบคทำงาน ไปไช้ 
เกิดการกินกระแสมากไป ทำไห้ฟลายแบคและฮอร์ทำงานมากเกิน 
ทนไม่ได้จนต้องทำร้ายตัวเองครับ และในส่วนที่ความถี่ฮอร์ที่วัดได้มากกว่าปรกติ 
ก็น่าจะมาจากที่ ฮอร์ยังไม่ทำงาน ครับ เพราะเราก็เจอกันมาบ่อยๆ
 ........
ไฟเลี้ยงขา10 เป็นไฟเลี้ยงชุดจังเกิ้ลถ้าไฟจุดนี้ต่ำเป้นไฟไม่ได้ที่กินฮอร์ทันที ถ้าไฟจุดนี้ต่ำมีสัญญาณฮอร์แน่นอนแต่สัญญาณภาพไม่ขึ้น CVBS ไม่มีภาพและเสียงแต่เร่งสกรีนที่FBT จะมีราสเตอรืออกเป็นเส้นเดียวกลางจอ ขา36 ของไอซีตัวนี้ถ้าไม่ถึง8V ฮอร์ไม่ออก แทกติกไอซีแบบไบมอส

บทความนี้อาจจะดูมั่วๆหน่อยนะครับ พยายามเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุด
ผมยกลงโต๊ะไปแล้ว แต่นอนไม่หลับครับ มันคาใจ + แค้นใจ..555
พอดีว่่างเมื่อวานก็เลยยกขึ้นโต๊ะอีกที...ผ่าตัดใหญ่...สะสางบัญชีได้เสียที
ก็จบอาการกินฮอร์ไว้เท่านี้ครับ ใครเจอจะได้ไม่หลงทางเหมือนผม...
...ตอนนี้เครื่องยังมีอาการ ไม่มีสี ไม่มีเสียง และจุกจิกอีกหลายอย่าง
คงต้องเริ่มที่ขา 10 นี่ละครับ เอาไว้วันหลังจะมาต่อให้ละกัน
(ถ้าซ่อมได้นะ) สาเหตุคงเพราะผมถอดเข้าถอดออกอุปกรณ์
ในแผ่นหรือเปล่าก็ไม่รู้ และสาย FBT ก็สั้นมากๆ
สายไฟต่างๆก็สั้น เอาปริ๊นต์ออกมาซ่อมยากเหลือเกิน ประหยัดจริงๆ มิตซู
..พลิกแผ่นที..เซ็งจิตเลย...
......เฮ้อ...
 ...............................................
มิตซูรุ่นนี้ ตัวที่ทำให้ Hor ช๊อต เพิ่มเติมอีกตัวครับ
เป็น VR 204 ค่า 10K ต่ออยู่ที่ขา 39 ของไอซี 8361
ใช้ปรับฮอร์โฮลหรือความถี่ฮอร์ ที่เจอคือตัวนี้สกปรก
ทำให้ความถี่ฮอร์ผิดเพี้ยน คือใช้เครื่องวัดความถี่
วัดตอนเครื่องสตาร์ทจะได้ 15625 Hz แต่ซักพักความถี่
จะเลื่อนไปอยู่ที่ 22-24 KHz อีกสาเหตุที่ทำให้ฮอร์ช๊อต...





1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2554 เวลา 01:07

    หวัดดีครับ

    ผมกำลังนั่งแกะอาการแบบนี้เลย ทีวี Hitachi ใช้ IC 8362 วัดความถี่ได้ 22 kHz FBT เสีย เปลี่ยนใหม่แล้ว เจอ C เสีย นึกว่าจะจบงาน ก็ยังไม่จบอีก แล้วผมจะมาขอคำชี้แนะครับ จะขอเช็คต่ออีกนิด

    ekarat2u@hotmail.com

    ตอบลบ

บล๊อคนี้เป็นอย่างไร

สมาชิก