มาแล้วครับ เครื่องวัด L C. vertion 2.0 เครื่องต้นแบบครับ
เริ่มต้น ก็ทำแผ่นปริ๊นต์ครับ โดยการพิมพ์เอาต้นแบบออกมา
เพื่อเอามาทำแผ่นวงจรครับ เอาการดาษทาบแผ่นปริ๊นต์
แล้วเจอะรูก่อนนะครับ เสร้จก็เอาการดาษออก
ทำความสะอาดแผ่นปริ๊นต์ให้ใสๆ ใช้ปากกาเขียนลายวงจร
ลงไปให้เหมือนที่พิมพ์ออกมา ปากกาให้ใช้แบบ Permanent
ดังรูปนะครับ หัวเล็กๆหน่อยจะเขียนได้ง่ายขึ้น
เริมจากเขียนโดนัทรอบจุดที่เจาะก่อน แล้วค่อยลากเส้นเชื่อมโยงกัน
พอเขียนเสร็จก็นำไปแช่กรดกัดปริ๊นต์ ก็จะได้แผ่นปริ๊นต์ดังรูปครับ
มอเตอร์ก็ไปแกะมาจากเครื่องเล่นเทปเก่าๆ หัวจับพร้อมดอกสว่าน
ก็ไปซื้อที่ร้านขายอะไหร่อิเลคฯทั่วไปครับ
ขั้นตอนต่อไป ก็เริ่มใส่อุปกรณ์ เริ่มจากตัวเตี้ยๆก่น
และไล่ไปหาตัวที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนหมด
รุปการใส่อุปกรณ์แล้วเสร็จ ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร อย่างดีเลยนะครับ
เห็นตัวรีเลย์ไหมครับ ฝรั่งเค้าเรียก รีดรีเลย์ ทางบ้านผมหายากมากๆ
ตัวดำๆยาวๆนะครับ ที่เขียนว่า SE051A00
ประกอบเสร็จ ก็เขียนโค๊ดใส่ IC PCI เบอร์ 16F628A ครับ
เมื่อเขียนโค๊ดใส่ไอซีแล้ว ก็เอาไอซีมาเสียบลงช๊อกเกต
ก็ไม่มีอะไรแล้วครับ เสร้จ ทดสอบได้
รูปแรกวัด C แบบเซรามิค เบอร์ 102 ครับ
รูปสองวัด C แบบเซรามิค 33pF ครับ
รูปสามวัด C แบบเซรามิค 39pF ครับ
รูปสี่วัด C แบบเซรามิค เบอร์ 181 ครับ
รูปห้าลองวัด C แดมเปอร์ เบอร์ 563 ครับ
และรูปสุดท้าย วัดหม้อแปลงฮอร์ไดว์ครับ
********** เทคนิคนิดหน่ยครับ ความแม่นยำจะอยู่ที่
ตัวคริสตอลอย่างมากเลยครับ ผมใช้ตัวตั้งแบบสูง วัด 33 pF ได้ 38.8 pF
เลยเปลี่ยนคริสตอลเป็นแบบตัวเล็กๆสีฟ้าแทน ตัวที่คล้าย
เซรามิกฟิลเตอร์นะครับ จะทำให้เครื่องวัดได้แม่นยำมากขึ้นครับ
คงขอจบไว้เท่านี้ครับ
*** เพิ่มเติมครับ เนื่องจากมีผู้สอบถามเข้ามา
เพิ่มเติม..
L C. vertion 2.0 ตัวนี้ สามารถตั้งความแม่นยำให้กับตัวเครื่องให้มากขึ้น ได้ด้วยครับ
(เพิ่งเจอเมื่อวาน หลังจากทำทิ้งไว้ซะนาน) เหอๆๆ
ดูจากรูปเดิมๆ จะเห็นว่า ในปริ๊นต์ จะมีจุดใส่จั้มเปอร์อยู่ 4 จุด
ข้างบนสุดให้เลขเป็น 1 2 3 และ 4 เรียงกันลงมานะครับ
การเซตความแม่นยำ เมื่อเราวัดค่า C หรือ L แล้ว
ต้องการปรับแต่งให้ เครื่องวัดมีความแม่นยำมากกว่าเดิม
ให้ใช้ไขควงแตะที่หลัก คู่ที่ 3 หรือ 4 ครับ
ถ้าวัด C แล้วได้ค่าเกินความจริงไปมาก ก็ให้เอาไขควงแตะที่หลักที่ 4 ตัวเลขจะค่อยๆลดลงมา
จนถึงค่าที่เราต้องการจะตั้ง และตัวเครื่องจะจำค่านี้ไว้ครับ
กรณีที่ใช้วัดค่า C
จั้มเปอร์ชุด 3 นับขึ้น
จั้มเปอร์ชุด 4 นับลง
กรณีที่ใช้วัดค่า L จะกลับกันครับ
ขอให้สนุกกับการประดิษฐ์กันนะครับ
ขอบคุณครับ
Download
L C. vertion 2.0 ตัวนี้ สามารถตั้งความแม่นยำให้กับตัวเครื่องให้มากขึ้น ได้ด้วยครับ
(เพิ่งเจอเมื่อวาน หลังจากทำทิ้งไว้ซะนาน) เหอๆๆ
ดูจากรูปเดิมๆ จะเห็นว่า ในปริ๊นต์ จะมีจุดใส่จั้มเปอร์อยู่ 4 จุด
ข้างบนสุดให้เลขเป็น 1 2 3 และ 4 เรียงกันลงมานะครับ
การเซตความแม่นยำ เมื่อเราวัดค่า C หรือ L แล้ว
ต้องการปรับแต่งให้ เครื่องวัดมีความแม่นยำมากกว่าเดิม
ให้ใช้ไขควงแตะที่หลัก คู่ที่ 3 หรือ 4 ครับ
ถ้าวัด C แล้วได้ค่าเกินความจริงไปมาก ก็ให้เอาไขควงแตะที่หลักที่ 4 ตัวเลขจะค่อยๆลดลงมา
จนถึงค่าที่เราต้องการจะตั้ง และตัวเครื่องจะจำค่านี้ไว้ครับ
กรณีที่ใช้วัดค่า C
จั้มเปอร์ชุด 3 นับขึ้น
จั้มเปอร์ชุด 4 นับลง
กรณีที่ใช้วัดค่า L จะกลับกันครับ
ขอให้สนุกกับการประดิษฐ์กันนะครับ
ขอบคุณครับ
Download
PC Board HEXFire
ตรง check f1 f2มันคืออะไรครับ
ตอบลบF1 กับ F2 เป็นการเช็คการนับขึ้นและนับลงของตัวเลขครับ ปกติใช้งานก็ไม่ต้องใส่ครับ
ตอบลบอยากจะลองทำดูค่ะ
ตอบลบเลยอยากรู้ว่าวงจรมันทำงานยังไงคะ?
วงจรทำงานยังไง...
ตอบลบไม่ค่อยเข้าใจคำถามเท่าไหร่ครับ...ก็ขอตอบคร่าวๆละกันนะ...
วงจรนี้ใช้ไมโครฯ ตระกูล PIC เบอร์ 16F628A เป็นไมโครคอนโทรลเล่อร์
มีโค๊ดสำหรับเขียนลงไปในตัวไอซี..เพื่อให้มันทำงานได้
การทำงานก็เป็นการนับความถี่ที่เกิดจากการวัดอุปกรณ์
ส่งไปแสดงผลบนจอ LCD ครับ